พระครูโสตถิสันติธรรมรับบิณฑบาตในงานบุญสลากภัตต์
วันศุกร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2554
มุทิตาหลวงปู่
พระครูโสตถิสันติธรรมและสามเณรโรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดศรีหนาถ อ.นาหว้า จ.นครพนม เข้ากราบมุทิตาหลวงปู่สุธรรม ธมฺมปาโล ณ วัดเทพกัญญาราม บ้านชโนด อ.เมือง จ.สกลนคร
วันจันทร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2554
กุดเลาะ
กุดเลาะกุดกว้าง"บ้านนางัว ชุมชนต้นแบบอนุรักษ์ป่าและน้ำ
คมชัดลึก : ต้องยอมรับว่า ผลกระทบจากการขยายตัวของชุมชน ส่งผลให้มีการบุกรุกป่าเพื่อทำมาหากินอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่สำหรับบ้านนางัว ต.นางัว อ.นาหว้า จ.นครพนม กลับไม่เป็นเช่นนั้น เหตุเพราะชาวบ้านมีความเข้มแข็งในการร่วมมือร่วมใจในการอนุรักษ์ผืน "ป่ากุดเลาะกุดกว้าง" 907 ไร่ ให้อยู่คู่กับชาวบ้านนางัวมาหลายทศวรรษ
"เดิมกุดเลาะกุดกว้างเป็นพื้นที่สาธารณประโยชน์ ชาวบ้านจำนวนมากได้ใช้ประโยชน์ร่วมกันมาเป็นระยะเวลานาน จนกระทั่งวันที่ 5 ธันวาคม 2545 พระมหาชัยวุฒิ พุทธวโร เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ชัย ได้ริเริ่มและจัดทำโครงการอนุรักษ์โคกกุดเลาะเพื่อเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระชนมพรรษาครบ 75 พรรษา จึงทำพิธีบวชป่าบายศรีสู่ขวัญป่าปลูกจิตสำนึกให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ป่าแห่งนี้" สมบูรณ์ วะชุม ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 1 ต.นางัว ในฐานะประธานคณะกรรมการดำเนินงานโครงการอนุรักษ์ป่าชุมชนโคกกุดเลาะกุดกว้าง บ้านนางัว ย้อนอดีตความเป็นมาของป่าแห่งนี้ ก่อนขอพระราชทานแนวพระราชดำริพัฒนาแหล่งน้ำกุดเลาะกุดกว้าง จากนั้นสำนักราชเลขาธิการขอให้สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) สำรวจออกแบบก่อสร้างโครงการตามหลักวิชาวิศวกรรมชลประทาน โดยมอบหมายให้สำนักงานชลประทานที่ 7 เป็นผู้รับผิดชอบ
สมบูรณ์เผยต่อว่า หลังจากพระมหาชัยวุฒิ พุทธวโร เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ชัย ขอพระราชทานดำเนินการโครงการอนุรักษ์ป่าและพัฒนาแหล่งน้ำกุดเลาะกุดกว้างให้เป็นแหล่งเพาะและขยายพันธุ์ปลาและสัตว์น้ำต่างๆ และขอพระบรมราชานุญาตให้ทรงรับไว้เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล่งเพาะและขยายพันธุ์ปลาน้ำจืด ให้ชาวบ้านมีอาชีพทำประมงเป็นอาชีพเสริมจากการทำนา อีกทั้งยังเป็นการอนุรักษ์พื้นที่ป่า 907 ไร่ เพื่อไม่ให้ชาวบ้านเข้าไปบุกรุกตัดไม้ทำลายป่า
"ประโยชน์ที่ได้รับก็เพื่อช่วยเหลือชาวบ้านกว่า 873 ครัวเรือน ที่อาศัยอยู่รอบๆ ผืนป่า ได้มีแหล่งน้ำอุปโภคบริโภค ใช้ทำอาชีพการเกษตร แล้วก็เป็นผลให้ชาวบ้านไม่เข้าไปบุกรุกตัดไม้ทำลายป่าโคกกุดเลาะกุดกว้าง"
พระมหาชัยวุฒิ พุทธวโร ในฐานะผู้ริเริ่มการอนุรักษ์ผืนป่ากุดเลาะกุดกว้าง และเป็นผู้ถวายฎีกาขอพระราชทานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มองว่า ผลพวงจากการตัดไม้ทำลายป่า ทำให้สภาพพื้นที่ป่าตรงนี้เสื่อมโทรม อาจจะโดยที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ของชาวบ้าน ส่งผลให้บริเวณตรงหนองน้ำตื้นเขิน มีหญ้า ปลาที่อยู่ตามธรรมชาติก็ไม่สามารถจะวางไข่ได้
"ทุกวันนี้ชาวบ้านดีขึ้น เพราะว่าชาวบ้านร่วมกันอนุรักษ์ ตรงพื้นที่หนองกุดเลาะเมื่อได้รับการพัฒนาได้ทำการขุดลอกพื้นที่แล้วก็ ปล่อยปลาแล้วชาวบ้านก็สามารถจะทำการประมง มีปลาขาย ป่าไม้ก็สมบูรณ์ขึ้น ชาวบ้านก็สามารถเก็บเห็ดขาย เก็บผลผลิตจากป่าขายมีรายได้เกือบตลอดทั้งปี"
พระมหาชัยวุฒิยอมรับว่า หลังจากมีการขุดลอกหนองน้ำกุดเลาะกุดกว้าง ภายใต้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และมีการฟื้นฟูสภาพป่าเสื่อมโทรมให้มีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น ทำให้ทุกวันนี้มีนกเป็ดน้ำเข้ามาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีสัตว์ป่าอีกหลายชนิดที่ในอดีตไม่เคยมี กลับมาให้ชาวบ้านได้เป็นกัน
"อย่างนกเป็ดน้ำ ปัจจุบันมีประมาณเกือบ 1,000 ตัว คงเป็นเพราะว่าไม่ได้มีการรบกวนจากชาวบ้านเหมือนเมื่อแต่ก่อน พอมีการร่วมกันอนุรักษ์ธรรมชาตินกมันก็มาเยอะ อยากให้ราชการเข้ามาช่วยส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร และพื้นที่ตรงนี้ให้ใช้น้ำให้เกิดประโยชน์ ในด้านอุปโภค บริโภค ตรงนี้เป็นแหล่งเลี้ยงควายอยู่แล้ว ถ้ามีแหล่งน้ำก็คงมีการเลี้ยงวัว เลี้ยงควายเพิ่มมากขึ้น" พระนักพัฒนากล่าวย้ำ
ด้าน ปรีชา ส่งกิตติสุนทร ผู้อำนวยการกองข่าว สำนักราชเลขาธิการ กล่าวระหว่างนำคณะลงพื้นที่ดูความสำเร็จของโครงการ โดยยอมรับว่า ความสำเร็จที่เกิดขึ้น นอกจากความช่วยเหลือของหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องแล้ว ประชาชนในพื้นที่ก็มีความสำคัญอย่างมากในการร่วมกันอนุรักษ์ผืนป่าและอ่างเก็บน้ำกุดเลาะกุดกว้าง ที่ดำเนินการขุดลอกโดยกรมชลประทาน
"หน่วยงานราชการเป็นเพียงส่วนสนับสนุนเท่านั้น แต่ผู้ที่รักษาให้ผืนป่าและอ่างเก็บน้ำแห่งนี้ให้อยู่คู่หมู่บ้านตลอดไปนั้น ก็ต้องมาจากความร่วมแรงร่วมใจของชาวบ้านในการร่วมกันดูแลรักษาไว้ ซึ่งจากการสอบถามชาวบ้านหลายรายก็บอกเป็นเสียงเดียวกันว่า พวกเขาจะไม่ยอมให้ใครมาทำลาย เพราะนี่เป็นโครงการที่พระเจ้าอยู่หัวพระราชทาน พวกเขาจึงต้องช่วยดูแลกันอย่างเต็มที่" ปรีชากล่าว
โครงการอนุรักษ์ป่าและพัฒนาแหล่งน้ำกุดเลาะกุดกว้าง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ บ้านนางัว ต.นางัว อ.นาหว้า จ.นครพนม นอกจากจะฟื้นฟูสภาพป่าเสื่อมโทรมให้กลับมามีความอุดมสมบูรณ์ดังเดิมแล้วยังเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของชาวบ้านในพื้นที่ได้เป็นอย่างดี
คอนโดเดอะนิช กิจกรรมดีๆร่วมลุ้น Ipad 3G wifi 32 GB ได้ที่ facebook.com/thenichecondo.senawww.TheNicheCondo.com/T.1775
185 ราชดำริ คอนโดความหรูหรากลางกรุงเทพ วิถีชีวิตบน ถ.ราชดำริ การลงทุนที่คุ้มค่าของคุณwww.RaimonLand.com
"เดิมกุดเลาะกุดกว้างเป็นพื้นที่สาธารณประโยชน์ ชาวบ้านจำนวนมากได้ใช้ประโยชน์ร่วมกันมาเป็นระยะเวลานาน จนกระทั่งวันที่ 5 ธันวาคม 2545 พระมหาชัยวุฒิ พุทธวโร เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ชัย ได้ริเริ่มและจัดทำโครงการอนุรักษ์โคกกุดเลาะเพื่อเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระชนมพรรษาครบ 75 พรรษา จึงทำพิธีบวชป่าบายศรีสู่ขวัญป่าปลูกจิตสำนึกให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ป่าแห่งนี้" สมบูรณ์ วะชุม ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 1 ต.นางัว ในฐานะประธานคณะกรรมการดำเนินงานโครงการอนุรักษ์ป่าชุมชนโคกกุดเลาะกุดกว้าง บ้านนางัว ย้อนอดีตความเป็นมาของป่าแห่งนี้ ก่อนขอพระราชทานแนวพระราชดำริพัฒนาแหล่งน้ำกุดเลาะกุดกว้าง จากนั้นสำนักราชเลขาธิการขอให้สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) สำรวจออกแบบก่อสร้างโครงการตามหลักวิชาวิศวกรรมชลประทาน โดยมอบหมายให้สำนักงานชลประทานที่ 7 เป็นผู้รับผิดชอบ
สมบูรณ์เผยต่อว่า หลังจากพระมหาชัยวุฒิ พุทธวโร เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ชัย ขอพระราชทานดำเนินการโครงการอนุรักษ์ป่าและพัฒนาแหล่งน้ำกุดเลาะกุดกว้างให้เป็นแหล่งเพาะและขยายพันธุ์ปลาและสัตว์น้ำต่างๆ และขอพระบรมราชานุญาตให้ทรงรับไว้เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล่งเพาะและขยายพันธุ์ปลาน้ำจืด ให้ชาวบ้านมีอาชีพทำประมงเป็นอาชีพเสริมจากการทำนา อีกทั้งยังเป็นการอนุรักษ์พื้นที่ป่า 907 ไร่ เพื่อไม่ให้ชาวบ้านเข้าไปบุกรุกตัดไม้ทำลายป่า
"ประโยชน์ที่ได้รับก็เพื่อช่วยเหลือชาวบ้านกว่า 873 ครัวเรือน ที่อาศัยอยู่รอบๆ ผืนป่า ได้มีแหล่งน้ำอุปโภคบริโภค ใช้ทำอาชีพการเกษตร แล้วก็เป็นผลให้ชาวบ้านไม่เข้าไปบุกรุกตัดไม้ทำลายป่าโคกกุดเลาะกุดกว้าง"
พระมหาชัยวุฒิ พุทธวโร ในฐานะผู้ริเริ่มการอนุรักษ์ผืนป่ากุดเลาะกุดกว้าง และเป็นผู้ถวายฎีกาขอพระราชทานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มองว่า ผลพวงจากการตัดไม้ทำลายป่า ทำให้สภาพพื้นที่ป่าตรงนี้เสื่อมโทรม อาจจะโดยที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ของชาวบ้าน ส่งผลให้บริเวณตรงหนองน้ำตื้นเขิน มีหญ้า ปลาที่อยู่ตามธรรมชาติก็ไม่สามารถจะวางไข่ได้
"ทุกวันนี้ชาวบ้านดีขึ้น เพราะว่าชาวบ้านร่วมกันอนุรักษ์ ตรงพื้นที่หนองกุดเลาะเมื่อได้รับการพัฒนาได้ทำการขุดลอกพื้นที่แล้วก็ ปล่อยปลาแล้วชาวบ้านก็สามารถจะทำการประมง มีปลาขาย ป่าไม้ก็สมบูรณ์ขึ้น ชาวบ้านก็สามารถเก็บเห็ดขาย เก็บผลผลิตจากป่าขายมีรายได้เกือบตลอดทั้งปี"
พระมหาชัยวุฒิยอมรับว่า หลังจากมีการขุดลอกหนองน้ำกุดเลาะกุดกว้าง ภายใต้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และมีการฟื้นฟูสภาพป่าเสื่อมโทรมให้มีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น ทำให้ทุกวันนี้มีนกเป็ดน้ำเข้ามาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีสัตว์ป่าอีกหลายชนิดที่ในอดีตไม่เคยมี กลับมาให้ชาวบ้านได้เป็นกัน
"อย่างนกเป็ดน้ำ ปัจจุบันมีประมาณเกือบ 1,000 ตัว คงเป็นเพราะว่าไม่ได้มีการรบกวนจากชาวบ้านเหมือนเมื่อแต่ก่อน พอมีการร่วมกันอนุรักษ์ธรรมชาตินกมันก็มาเยอะ อยากให้ราชการเข้ามาช่วยส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร และพื้นที่ตรงนี้ให้ใช้น้ำให้เกิดประโยชน์ ในด้านอุปโภค บริโภค ตรงนี้เป็นแหล่งเลี้ยงควายอยู่แล้ว ถ้ามีแหล่งน้ำก็คงมีการเลี้ยงวัว เลี้ยงควายเพิ่มมากขึ้น" พระนักพัฒนากล่าวย้ำ
ด้าน ปรีชา ส่งกิตติสุนทร ผู้อำนวยการกองข่าว สำนักราชเลขาธิการ กล่าวระหว่างนำคณะลงพื้นที่ดูความสำเร็จของโครงการ โดยยอมรับว่า ความสำเร็จที่เกิดขึ้น นอกจากความช่วยเหลือของหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องแล้ว ประชาชนในพื้นที่ก็มีความสำคัญอย่างมากในการร่วมกันอนุรักษ์ผืนป่าและอ่างเก็บน้ำกุดเลาะกุดกว้าง ที่ดำเนินการขุดลอกโดยกรมชลประทาน
"หน่วยงานราชการเป็นเพียงส่วนสนับสนุนเท่านั้น แต่ผู้ที่รักษาให้ผืนป่าและอ่างเก็บน้ำแห่งนี้ให้อยู่คู่หมู่บ้านตลอดไปนั้น ก็ต้องมาจากความร่วมแรงร่วมใจของชาวบ้านในการร่วมกันดูแลรักษาไว้ ซึ่งจากการสอบถามชาวบ้านหลายรายก็บอกเป็นเสียงเดียวกันว่า พวกเขาจะไม่ยอมให้ใครมาทำลาย เพราะนี่เป็นโครงการที่พระเจ้าอยู่หัวพระราชทาน พวกเขาจึงต้องช่วยดูแลกันอย่างเต็มที่" ปรีชากล่าว
โครงการอนุรักษ์ป่าและพัฒนาแหล่งน้ำกุดเลาะกุดกว้าง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ บ้านนางัว ต.นางัว อ.นาหว้า จ.นครพนม นอกจากจะฟื้นฟูสภาพป่าเสื่อมโทรมให้กลับมามีความอุดมสมบูรณ์ดังเดิมแล้วยังเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของชาวบ้านในพื้นที่ได้เป็นอย่างดี
สุรัตน์ อัตตะ
ประวัติบ้านนางัว
ตำบลนางัว เป็นตำบลที่ตั้งอยู่ในเขตการปกครองของอำเภอนาหว้า ประกอบด้วย 13 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ 1 บ้านนางัว หมู่ 2 บ้านนางัว หมู่ 3 บ้านอูนนา หมู่ 4 บ้านนากระทืม หมู่ 5 บ้านนาคอย หมู่ 6 บ้านกุดน้ำใส หมู่ 7 บ้านสามัคคี หมู่ 8 บ้านนางัว หมู่ 9 บ้านโนนกุง หมู่ 10 บ้านนาคอย หมู่ 11 บ้านอูนนา หมู่ 12 บ้านโนนสะอาด หมู่ 13 บ้านนาคอย
สภาพทั่วไปของตำบล :
มีเนื้อที่ทั้งหมด 59,735 ไร่
อาณาเขตตำบล :
ทิศเหนือ ติดกับ ต.ท่าเรือ และ ต.นาหว้า อ.นาหว้า จ.นครพนม
ทิศใต้ ติดกับ จ.สกลนคร
ทิศตะวันออก ติดกับ ต.นาหว้า อ.นาหว้า จ.นครพนม
ทิศตะวันตก ติดกับ จ.สกลนคร
จำนวนประชากรของตำบล :
จำนวนประชากรในเขต อบต. 5,056 คน และจำนวนหลังคาเรือน 1,258 หลังคาเรือน
ประวัติและความเป็นมาของท้องถิ่น
บ้านนางัวแต่ก่อนเผ่าภูไทและเผ่าญ้อ อพยพมาจากเมืองสกลนคร เริ่มก่อตั้งเมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๔๑๓ เดิมเป็นหมู่ที่ ๑๐ ของตำบลนาหว้า กิ่งท่าบ่อศรีสงคราม โดยมีนายทองคำ วะชุม เป็นกำนัน มีท้าวตาแสงเป็นผู้นำคนแรก ตำแหน่งขุนนางัวตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๑๓ – ๒๔๗๒ จากนั้น นายสาย (ขุนนางัว) ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้นำคนที่ ๒ และมีผู้ใหญ่บ้านทั้งหมด ๕ คน ดังนี้
๑. นายเสือ ไชยมาโย เป็นผู้ใหญ่บ้านคนที่ ๑
๒. นายอินทร์ นาโควงค์ เป็นผู้ใหญ่บ้านคนที่ ๒
๓. นายอ่อน อุสาพรหม เป็นผู้ใหญ่บ้านคนที่ ๓
๔. นายแก้ว อุสาพรหม เป็นผู้ใหญ่บ้านคนที่ ๔
๕. นายชาลี อุสาพรหม เป็นผู้ใหญ่บ้านคนที่ ๕
๖.นายโชติ นาโควงค์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๒
๗.นายดอน นาโควงค์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๘
๘.นายสมบูรณ์ วะชุม ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๑
เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๙ นายทองคำ วะชุม กำนันตำบลนาหว้าเกษียณอายุ และได้แต่งตั้งให้นายโจม อุปพรหม เป็นกำนันตำบลนาหว้า และมีนายฮ้ง นาโควงค์ เป็นผู้ใหญ่บ้าน จากจำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้น จึงได้ขอแยกตั้งตำบลใหม่เป็นตำบลนางัว หมู่ที่ ๑ และหมู่ที่ ๒ ตำบลนางัว อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม โดยมีกำนันและผู้ใหญ่บ้าน ดังนี้
๑. นายวันดี อุสาพรหม เป็นกำนันคนแรก
๒. นายมนูศักดิ์ โกษาแสง เป็นกำนันคนที่ ๒
๓. นายบัว โกษาแสง เป็นกำนันคนที่ ๓
๔. นายจันทร์ ดีแสง เป็นกำนันคนที่ ๔
๕. นายสาคร บุนนท์ เป็นกำนันคนที่ ๕
๖. นายทองคำ อุสาพรหม เป็นกำนันคนที่ ๖
๗. นายลำใหญ่ บุนนท์ เป็นกำนันคนที่ ๗
๘. นายเตียง โกษาแสง
ประวัติโรงเรียน
วัดศรีหนาถ เลขที่ ๒๒๗ หมู่ที่ ๒ ถนนรัฐพัฒนา บ้านนางัว ตำบลนางัว อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม ๔๘๑๘๐
พ.ศ. ๒๔๘๔-๒๕๓๐ นายคูณ บุนนท์ ได้ถวายที่ดิน จำนวน ๓๙ ไร่ ๕๖ ตารางวา เพื่อสร้างวัดโดยมี พระครูศิริปุญญานุรักษ์ (พระอาจารย์ศรีนวล จิตฺตเปโม)เจ้าอาวาส เป็นผู้นำชาวบ้านในการก่อสร้างวัด ท่านได้นำคณะศรัทธาญาติโยมสร้างศาลาการเปรียญ กุฏีสงฆ์ และเสนาสนะต่าง ๆ รวมทั้งได้ปลูกต้นไม้จำนวนมากภายในบริเวณวัด เพื่อให้ความร่มรื่น และใช้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม ฝึกกรรมฐานในคราวเดียวกัน
พ.ศ. ๒๕๓๑-๒๕๓๒ พระอาจารย์สวัสดิ์ ขนฺตยานนฺโท (สวัสดิ์ บุนนท์) ได้เดินทางมาจากวัดทองธรรมชาติวรวิหาร กรุงเทพมหานคร เพื่อมาเยี่ยมบ้านเกิด (บ้านนางัว) หลังจากที่ท่านเดินทางกลับกรุงเทพมหานครแล้ว ญาติโยมชาวบ้าน
นางัว นำโดยคุณโยมสมคิด และอาจารย์บัวคำ ไชยมาโย ได้พร้อมใจกันอาราธนาท่านไปจำพรรษาอยู่ที่วัดศรีหนาถ บ้านนางัว ซึ่งเป็นบ้านเกิดของท่าน ซึ่งขณะนั้น ทางวัดไม่มีพระจำพรรษาอยู่ ท่านได้รับอาราธนาแล้ว ไม่นานก็มาจำพรรษาอยู่ที่วัดศรีหนาถ และได้ดำรงตำแหน่งรักษาการเจ้าอาวาสได้ประมาณ ๒ ปี หลังจากนั้น ก็ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็น เจ้าอาวาสวัดศรีหนาถ
พ.ศ. ๒๕๓๓ ได้บูรณะปฏิสังขรณ์ศาลาการเปรียญ และเสนาสนะที่ชำรุดทรุดโทรมให้สามารถใช้การได้ พร้อมทั้งได้สร้างห้องน้ำ ห้องสุขา จำนวน ๑๐ห้อง พ.ศ.๒๕๓๖ พระอาจารย์สวัสดิ์ ขนฺตยานนฺโท (สวัสดิ์ บุนนท์)ได้ขออนุญาต
ต่อกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ เปิดศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัด
พ.ศ.๒๕๓๗ พระอาจารย์สวัสดิ์ ขนฺตยานนฺโท (สวัสดิ์ บุนนท์) ได้ดำเนินการขอจัดตั้งโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา เพื่อเปิดทำการเรียนการสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยใช้หลักสูตรพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา พุทธศักราช ๒๕๓๔ กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ ปัจจุบัน สังกัดกองพุทธศาสนศึกษา สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
พ.ศ.๒๕๓๘ ได้รับอนุญาตให้เปิดทำการเรียนการสอนโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ตามใบอนุญาต เลขที่ ๓/๒๕๓๘ โดยผู้เรียนทั้งหมดต้องบรรพชาอุปสมบทก่อนเข้าเรียน พ.ศ. ๒๕๓๘-ปัจจุบัน รวมแล้ว เข้าปีที่ ๑๒ โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดศรีหนาถวิทยา ซึ่งได้ดำเนินการเรียนการสอนทั้ง ๓ แผนกคือ
๑. แผนกธรรม คือเรียนนักธรรมชั้นตรี นักธรรมชั้นโท และนักธรรมชั้นเอก
๒. แผนกบาลี คือเรียนบาลีไวยากรณ์ ประโยค ๑-๒ และ เปรียญ ๓
๓. แผนกสามัญศึกษา คือเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ถึง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖
ในการสอบนักธรรมสนามหลวง ทั้งแผนกนักธรรม แผนกบาลี และสายสามัญ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นที่น่าภูมิใจ ปรากฏได้รับผลเป็นที่ยอมรับในวงการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาในจังหวัดนครพนมและจังหวัดใกล้เคียง
ปัจจุบันนี้พระภิกษุสามเณรนักเรียนที่ประจำในสำนักเรียนแห่งนี้ร่วม ๑๒๐ กว่ารูป ส่วนคณะผู้บริหารมีพระครูโสตถิสันติธรรม เป็นผู้จัดการโรงเรียน และเจ้าอาวาสเจ้าคณะตำบลนางัว และมีพระพูลสวัสดิ์ สุวโจ ( พธ.บ.,ปวค.นธเอก) เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน และมีคณะครูอาจารย์ เจ้าหน้าที่ รวมแล้ว ๑๒ รูป/ คน มีพระภิกษุทั้งหมด ๔ รูป ฆราวาส ๘ คน ได้ทำการเรียนการสอน
นักเรียนที่มาเรียนเกือบทั้งหมดเป็นบุคคลที่ด้อยโอกาสทางการศึกษา บางคนยากจน ไม่มีโอกาสเรียนต่อโรงเรียนปกติ บางคนครอบครัวอย่าร้างกันอยู่กับตา ยาย เป็นปัญหาสังคมตายายไม่มีเงินจะส่งบุตรหลานไป เรียน ตามโรงเรียนปกติเมื่อจบชั้น ป.๖ หรือ ม.๓ แล้ว และได้นำมาบวชเรียนที่โรงเรียนพระปริยัติธรรมแห่งนี้
ทางโรงเรียนก็ต้องรับภาระพระภิกษุสามเณรที่มาเรียนและพักอยู่ที่สำนักเรียนนี้เกือบทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการจัดหาภัตตาหารเช้า -เพลถวาย และดูแลความเป็นอยู่ เจ็บ ป่วย ก็นำส่งสถานีอนามัย หรือโรงพยาบาล และในเรื่องอุปกรณ์การเรียนการสอนต่างๆ เช่น สมุด ปากกา ไม้บรรทัด ตลอดทั้งผ้าจีวร สบง อังสะ ทางวัดหรือทางโรงเรียนก็ต้องจัดถวายทุกรูป ดังนั้นจึงเป็นภาระอย่างมากกับผู้บริหาร สำหรับงบประมาณที่มาดำเนินการจัดการเรียนการสอนนั้นก็ได้เงินอุดหนุนจากสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ แต่ก็ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายที่มีเป็นจำนวนมาก
ขณะนี้ทางวัดหรือทางโรงเรียนมีความต้องการงบประมาณมาเสริมค่าใช้จ่าย เป็นต้นว่า ค่าภัตตาหารพระภิกษุสามเณร ค่าบริหารงาน ฯลฯ และปัจจุบันก็ได้ดำเนินการสร้างอาคารเรียนหลังใหม่ ๔ ชั้น เสร็จไปแล้ว ๗๐ เปอร์เซ็นต์ ยังอีก ๓๐ เปอร์เซ็นต์ พร้อมทั้งยังขาดห้องสมุด,หนังสือ และห้องคอมพิวเตอร์ ,เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์การเรียนต่างๆ อีกมากมาย และอีกโครงการหนึ่งคือโครงการสร้างอาคารที่พักพระภิกษุ สามเณรให้มีที่พักเป็นมาตรฐาน ประมาณ ๓๐ ห้องนอน ๒ ชั้น
จึงขอเจริญพรขอบคุณมาล่วงหน้าที่ให้ความอุปถัมภ์ในครั้งนี้
ขอเชิญร่วมบริจาคทำบุญได้ที่
พระครูโสตถิสันติธรรม
เจ้าอาวาส,เจ้าคณะตำบล,ผู้จัดการ
โทรศัพท์ ๐-๔๒๕๙-๗๑๓๗,๐๘-๙๕๔๑-๖๗๑๗
สถานที่ตั้ง
เลขที่ ๒๒๗ หมู่ที่ ๒ ถนนรัฐพัฒนา บ้านนางัว ตำบลนางัว อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม ๔๘๑๘๐
เจ้าอาวาส
1. พระครูสิริปุญญานุรักษ์(ศรีนวล ฐิตเปโม,โคตพรหม) เจ้าอาวาสรูปแรก
2. พระครูโสตถิสันติธรรม (สวัสดิ ขนฺตยานนฺโท,บุนนท์)
พ.ศ. ๒๔๘๔-๒๕๓๐ นายคูณ บุนนท์ ได้ถวายที่ดิน จำนวน ๓๙ ไร่ ๕๖ ตารางวา เพื่อสร้างวัดโดยมี พระครูศิริปุญญานุรักษ์ (พระอาจารย์ศรีนวล จิตฺตเปโม)เจ้าอาวาส เป็นผู้นำชาวบ้านในการก่อสร้างวัด ท่านได้นำคณะศรัทธาญาติโยมสร้างศาลาการเปรียญ กุฏีสงฆ์ และเสนาสนะต่าง ๆ รวมทั้งได้ปลูกต้นไม้จำนวนมากภายในบริเวณวัด เพื่อให้ความร่มรื่น และใช้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม ฝึกกรรมฐานในคราวเดียวกัน
พ.ศ. ๒๕๓๑-๒๕๓๒ พระอาจารย์สวัสดิ์ ขนฺตยานนฺโท (สวัสดิ์ บุนนท์) ได้เดินทางมาจากวัดทองธรรมชาติวรวิหาร กรุงเทพมหานคร เพื่อมาเยี่ยมบ้านเกิด (บ้านนางัว) หลังจากที่ท่านเดินทางกลับกรุงเทพมหานครแล้ว ญาติโยมชาวบ้าน
นางัว นำโดยคุณโยมสมคิด และอาจารย์บัวคำ ไชยมาโย ได้พร้อมใจกันอาราธนาท่านไปจำพรรษาอยู่ที่วัดศรีหนาถ บ้านนางัว ซึ่งเป็นบ้านเกิดของท่าน ซึ่งขณะนั้น ทางวัดไม่มีพระจำพรรษาอยู่ ท่านได้รับอาราธนาแล้ว ไม่นานก็มาจำพรรษาอยู่ที่วัดศรีหนาถ และได้ดำรงตำแหน่งรักษาการเจ้าอาวาสได้ประมาณ ๒ ปี หลังจากนั้น ก็ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็น เจ้าอาวาสวัดศรีหนาถ
พ.ศ. ๒๕๓๓ ได้บูรณะปฏิสังขรณ์ศาลาการเปรียญ และเสนาสนะที่ชำรุดทรุดโทรมให้สามารถใช้การได้ พร้อมทั้งได้สร้างห้องน้ำ ห้องสุขา จำนวน ๑๐ห้อง พ.ศ.๒๕๓๖ พระอาจารย์สวัสดิ์ ขนฺตยานนฺโท (สวัสดิ์ บุนนท์)ได้ขออนุญาต
ต่อกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ เปิดศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัด
พ.ศ.๒๕๓๗ พระอาจารย์สวัสดิ์ ขนฺตยานนฺโท (สวัสดิ์ บุนนท์) ได้ดำเนินการขอจัดตั้งโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา เพื่อเปิดทำการเรียนการสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยใช้หลักสูตรพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา พุทธศักราช ๒๕๓๔ กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ ปัจจุบัน สังกัดกองพุทธศาสนศึกษา สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
พ.ศ.๒๕๓๘ ได้รับอนุญาตให้เปิดทำการเรียนการสอนโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ตามใบอนุญาต เลขที่ ๓/๒๕๓๘ โดยผู้เรียนทั้งหมดต้องบรรพชาอุปสมบทก่อนเข้าเรียน พ.ศ. ๒๕๓๘-ปัจจุบัน รวมแล้ว เข้าปีที่ ๑๒ โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดศรีหนาถวิทยา ซึ่งได้ดำเนินการเรียนการสอนทั้ง ๓ แผนกคือ
๑. แผนกธรรม คือเรียนนักธรรมชั้นตรี นักธรรมชั้นโท และนักธรรมชั้นเอก
๒. แผนกบาลี คือเรียนบาลีไวยากรณ์ ประโยค ๑-๒ และ เปรียญ ๓
๓. แผนกสามัญศึกษา คือเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ถึง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖
ในการสอบนักธรรมสนามหลวง ทั้งแผนกนักธรรม แผนกบาลี และสายสามัญ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นที่น่าภูมิใจ ปรากฏได้รับผลเป็นที่ยอมรับในวงการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาในจังหวัดนครพนมและจังหวัดใกล้เคียง
ปัจจุบันนี้พระภิกษุสามเณรนักเรียนที่ประจำในสำนักเรียนแห่งนี้ร่วม ๑๒๐ กว่ารูป ส่วนคณะผู้บริหารมีพระครูโสตถิสันติธรรม เป็นผู้จัดการโรงเรียน และเจ้าอาวาสเจ้าคณะตำบลนางัว และมีพระพูลสวัสดิ์ สุวโจ ( พธ.บ.,ปวค.นธเอก) เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน และมีคณะครูอาจารย์ เจ้าหน้าที่ รวมแล้ว ๑๒ รูป/ คน มีพระภิกษุทั้งหมด ๔ รูป ฆราวาส ๘ คน ได้ทำการเรียนการสอน
นักเรียนที่มาเรียนเกือบทั้งหมดเป็นบุคคลที่ด้อยโอกาสทางการศึกษา บางคนยากจน ไม่มีโอกาสเรียนต่อโรงเรียนปกติ บางคนครอบครัวอย่าร้างกันอยู่กับตา ยาย เป็นปัญหาสังคมตายายไม่มีเงินจะส่งบุตรหลานไป เรียน ตามโรงเรียนปกติเมื่อจบชั้น ป.๖ หรือ ม.๓ แล้ว และได้นำมาบวชเรียนที่โรงเรียนพระปริยัติธรรมแห่งนี้
ทางโรงเรียนก็ต้องรับภาระพระภิกษุสามเณรที่มาเรียนและพักอยู่ที่สำนักเรียนนี้เกือบทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการจัดหาภัตตาหารเช้า -เพลถวาย และดูแลความเป็นอยู่ เจ็บ ป่วย ก็นำส่งสถานีอนามัย หรือโรงพยาบาล และในเรื่องอุปกรณ์การเรียนการสอนต่างๆ เช่น สมุด ปากกา ไม้บรรทัด ตลอดทั้งผ้าจีวร สบง อังสะ ทางวัดหรือทางโรงเรียนก็ต้องจัดถวายทุกรูป ดังนั้นจึงเป็นภาระอย่างมากกับผู้บริหาร สำหรับงบประมาณที่มาดำเนินการจัดการเรียนการสอนนั้นก็ได้เงินอุดหนุนจากสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ แต่ก็ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายที่มีเป็นจำนวนมาก
ขณะนี้ทางวัดหรือทางโรงเรียนมีความต้องการงบประมาณมาเสริมค่าใช้จ่าย เป็นต้นว่า ค่าภัตตาหารพระภิกษุสามเณร ค่าบริหารงาน ฯลฯ และปัจจุบันก็ได้ดำเนินการสร้างอาคารเรียนหลังใหม่ ๔ ชั้น เสร็จไปแล้ว ๗๐ เปอร์เซ็นต์ ยังอีก ๓๐ เปอร์เซ็นต์ พร้อมทั้งยังขาดห้องสมุด,หนังสือ และห้องคอมพิวเตอร์ ,เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์การเรียนต่างๆ อีกมากมาย และอีกโครงการหนึ่งคือโครงการสร้างอาคารที่พักพระภิกษุ สามเณรให้มีที่พักเป็นมาตรฐาน ประมาณ ๓๐ ห้องนอน ๒ ชั้น
จึงขอเจริญพรขอบคุณมาล่วงหน้าที่ให้ความอุปถัมภ์ในครั้งนี้
ขอเชิญร่วมบริจาคทำบุญได้ที่
พระครูโสตถิสันติธรรม
เจ้าอาวาส,เจ้าคณะตำบล,ผู้จัดการ
โทรศัพท์ ๐-๔๒๕๙-๗๑๓๗,๐๘-๙๕๔๑-๖๗๑๗
สถานที่ตั้ง
เลขที่ ๒๒๗ หมู่ที่ ๒ ถนนรัฐพัฒนา บ้านนางัว ตำบลนางัว อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม ๔๘๑๘๐
เจ้าอาวาส
1. พระครูสิริปุญญานุรักษ์(ศรีนวล ฐิตเปโม,โคตพรหม) เจ้าอาวาสรูปแรก
2. พระครูโสตถิสันติธรรม (สวัสดิ ขนฺตยานนฺโท,บุนนท์)
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)